top of page
190804_ND_Archive_A-04.png

การอุดฟัน

การอุดฟัน มักจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดฟันผุที่ลุกลามเข้าไปในชั้นเคลือบฟันและเนื้อฟัน หรือในบางรายอาจลามเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน โดยการรักษานั้น ทันตแพทย์จะนำเนื้อเยื่อ และเนื้อฟันที่ผุออก ทำความสะอาดในตำแหน่งที่ผุ จากนั้นจึงจะทำการเติมวัสดุอุดฟันลงไปเติมเนื้อฟันส่วนที่เสียหาย เพื่อให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ และป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเข้าไป ทำให้ฟันผุลุกลามได้อีก

 

โดยคนไข้สามารถเลือกวัสดุที่ต้องการอุดฟันได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ทั้งในแง่ของราคา สี ความแข็งแรง ได้แก่

การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน - วัสดุนี้ออกแบบมาให้กลมกลืนไปกับเนื้อฟัน และอาจเกิดคราบเหลืองได้จากชา หรือกาแฟ แต่การอุดฟันรูปแบบนี้ ก็ได้รับความนิยม โดยเฉพาะบริเวณฟันหน้าที่รอยผุไม่กว้างจนเกินไป

คนไข้บางคนที่มีประวัติแพ้วัสดุอุดฟัน ขอแนะนำให้คนไข้ปรึกษาทันตแพทย์ก่อนตัดสินใจรับการรักษา กรณีที่ฟันเสียหายเกินกว่าจะอุดฟันได้ อาจจะต้องทำการรักษาด้วยการครอบฟันแทน และหากเชื้อโรคผุลามเข้าไปจนถึงปลายประสาทฟัน ก็จำเป็นต้องรับการรักษารากฟันร่วมด้วย

190804_ND_Archive_A-05.png

การอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม - วัสดุโลหะสีเงิน ค่อนข้างคงทนและมีราคาไม่แพง มีความแข็งแรง เหมาะสำหรับอุดฟันกรามซึ่งเป็นฟันบดเคี้ยว  หรืออุดในตำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ง่าย เพราะมีสีแตกต่างจากเคลือบฟันชัดเจน

  • กรณีฟันผุลึกใกล้โพรงประสาทฟันและมีอาการปวดร่วมด้วย ควรนัดหมายมาทำการรักษารากฟันภายหลัง

  • กรณีอุดฟันหน้า ห้ามใช้ฟันหน้ากัดของแข็งหรือเหนียว เพราะจะทำให้ฟันที่อุดไปบิ่นแตกได้

  • แปรงฟันและควรใช้เส้นไหมขัดฟัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุใหม่

  • นัดตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ ทุก 6 เดือน

190804_ND_Archive_A-06.png

การดูแลรักษาหลังเข้ารับการอุดฟัน

  • กรณีที่อุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม ให้งดเคี้ยวบริเวณฟันที่อุด 24 ชั่วโมง

  • กรณีที่ฟันผุลึก หลังจากอุดฟันไปแล้ว อาจมีอาการเสียวฟัน แต่จะค่อยๆ ดีขึ้น หากอาการไม่ดีขึ้น ให้นัดพบทันตแพทย์

bottom of page